เรื่องที่ถามกันบ่อย


หลักการตัดสินใจในการติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์ มีอะไรบ้าง

1. ประเภทรถยนต์ที่ติดตั้งได้
          ในปัจจุบัน ยานพาหนะอย่างรถยนต์ สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อติดตั้งระบบแก๊ส LPG/NGV ได้เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล
ยกเว้นรถยนต์รุ่นใหม่ของค่ายยุโรปบางยี่ห้อ ที่เครื่องยนต์ทำงานในลักษณะการฉีดน้ำมัน ตรงเข้ากระบอกสูบ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีชื่อเรียกเครื่องยนต์แตกต่าง
กันออกไป เช่น Mercedes-Benz เรียกว่า CGI เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ มีผู้ผลิตอุปกรณ์แก๊สที่สามารถวิจัยและพัฒนากล่อง ECU เพื่อควบคุมเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่มี
ลักษณะดังกล่าวบางยี่ห้อได้แล้ว เช่น Volkswagen เป็นต้น
Back to Top
2. ประเภทของแก๊สธรรมชาติ
          การเลือกใช้แก๊สธรรมชาติว่าควรใช้ LPG หรือ NGV นั้น ควรคำนึงถึงประเภทรถและการใช้งานเป็นหลัก โดยมีคำแนะนำดังนี้

2.1 รถยนต์โดยสารทั่ว ๆ ไป แนะนำให้เลือก LPG เนื่องจาก มีน้ำหนักถังแก๊สที่เบากว่า NGV และมีปั้มแก๊สให้บริการจำนวนมากทั่วประเทศ 2.2 รถขนส่ง เช่น รถกระบะ รถบรรทุก รถเมล์ รถหัวลากคอนเทนเนอร์ แนะนำให้เลือก NGV เนื่องจากได้กำลังอัดที่มากกว่า และสามารถรับน้ำหนัก ของถังแก๊ส NGV ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมากได้ โดยไม่ทำให้ตัวรถเสียการทรงตัว
Back to Top
3. ประเภทอุปกรณ์ติดตั้งแก๊ส
          แนะนำว่าควรให้ช่างผู้ชำนาญการ เป็นผู้แนะนำ ว่ารถยนต์ของคุณ เหมาะกับชุดอุปกรณ์ติดตั้งแบบไหน ที่สามารถให้ผลการใช้งานที่เทียบเท่า
การทำงานของระบบน้ำมัน ซึ่งในปัจจุบันมีชุดติดตั้งแก๊ส LPG อยู่ 2 ระบบ คือ 
          3.1   ระบบดูด (Fumigation) แบบใช้หม้อต้ม (Fix Mixer) ปริมาณของแก๊สที่ปล่อยเข้ามาในระบบจะไม่สามารถปรับจูนได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัย
          ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของช่าง ในการฟังเสียงเครื่องยนต์แบบกึ่งหัวฉีด (Lamda Control หรือ Step) มีวาล์วเปิด-ปิด แบบนี้จะดีกว่าหม้อต้ม
          นิดหน่อย  เพราะจะมีวาล์วหนึ่งตัวคอยสั่งการเมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วสูงต้องการปริมาณแก๊สที่มากขึ้น ในขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วต่ำ 	ไม่ต้องการปริมาณ
          แก๊สมาก  วาล์วก็จะปล่อยแก๊สออกมาน้อย
          3.2   ระบบฉีด (Injection)   มีจำนวนหัวฉีด ตามจำนวนสูบ เช่น 4 สูบก็มี 4 หัว จะควบคุมด้วยกล่อง ECU  การทำงานจะเหมือนน้ำมัน อัตราเร่ง
          ใกล้เคียงระบบน้ำมัน สามารถปรับจูนด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความแม่นยำกว่าระบบดูด (Fumigation) 
Back to Top
4. ราคาติดตั้ง
          ควรพิจารณาราคาติดตั้งให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม เพราะหากราคาถูก ท่านอาจจะได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำ ไม่ได้มาตรฐานการผลิต 
ราคาติดตั้งควรอยู่ในช่วง ดังนี้
     ระบบ LPG
          4.1   ระบบดูดแก๊ส ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 16,000-18,000 บาท
          4.2   ระบบฉีดแก๊ส ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 25,000-40,000 บาท
     ระบบ NGV
          4.3  ระบบดูดแก๊ส จะมีการทำงานคล้ายกับระบบคาร์บูเรเตอร์ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์
     ประมาณ 32,000-38,000 บาท
          4.4  ระบบฉีดแก๊ส เป็นระบบที่มี ECU ควบคุมการจ่ายแก๊ส ตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์
     ประมาณ 45,000-60,000 บาท
Back to Top
5. อู่บริการติดตั้งแก๊ส
          เพื่อป้องกันปัญหาอันตรายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ติดแก๊ส เจ้าของรถยนต์จึงควรเลือกใช้บริการจากศูนย์ที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบก 
ว่าผ่านการตรวจอู่มาตรฐานแล้ว โดยสังเกตุจากสัญลักษณ์และเลขที่ใบอนุญาต มีวิศวกรประจำอู่ที่ควบคุมการติดตั้ง มีคู่มือการดูแลรถยนต์ติดแก๊สมาให้ 
และมีใบอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก มีบริการที่ดี และใช้อุปกรณ์ใหม่ที่ได้มาตรฐาน หลังจากติดตั้งแก๊สแล้ว ควรนำรถไปตรวจสอบการรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ 
ตามระยะทางที่มาตรฐานกำหนด
Back to Top
6. ก่อนติดตั้งแก๊สในรถยนต์ควรรู้อะไรบ้าง
          ก่อนที่เราจะนำรถยนต์เข้ารับการติดตั้งแก๊สเราควรที่จะทำอะไรบ้าง? เป็นคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดถึง แล้วจริงๆ เราควรจะทำอย่างไร? 
ทำอะไรกับรถของเราเองบ้าง? จะขออธิบายเป็นข้อๆ เพื่อที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ นะคะ   ข้อที่สำคัญมากๆ ก็คือ   การเตรียม
     6.1 ตัวเอง เพื่อที่จะเรียนรู้กับระบบแก๊สที่จะติดตั้งในรถยนต์ของเรา ทำใจให้ว่างแล้วเปิดรับข้อมูลที่เราจะได้รับจากทางอู่บริการติดตั้งแก๊สค่ะ
     6.2 หากเป็นรถป้ายแดง ควรวิ่งทดสอบระบบรถประมาณ 1,000 Km ก่อน ซึ่งทางเจ้าของรถยนต์สามารถสบายใจได้ว่า รถติดตั้งแก๊สจะไม่มีปัญหา 
     นำไปติดแก๊สได้เลย  เพราะเครื่องยนต์มีความพร้อมมาก เนื่องจากเป็นเครื่องใหม่อะไร ๆ ก็ยังดีไปหมดค่ะ
     6.3 หากเป็นรถรุ่นเก่า ต้องเริ่มตั้งแต่การนำรถยนต์ไปตรวจเช็คสภาพ ที่อู่รถยนต์ที่เราใช้บริการเป็นประจำ เริ่มตั้งแต่กรองอากาศกันก่อนเลยค่ะ 
     หรือถ้าไม่ได้เปลี่ยนมานานมากก็ถือโอกาสเปลี่ยนใหม่เลยค่ะ
     6.4 หัวเทียน หากจำไม่ได้จริง ๆ ว่าเปลี่ยนไปเมื่อไหร่ก็เปลี่ยนใหม่เลยค่ะ เพราะหัวเทียนมีผลต่อการใช้แก๊สมากค่ะ
     6.5 หม้อน้ำ, ท่อยางหม้อน้ำต่าง ๆ ตรวจดูว่ามันมีรอยแตกหรือไม่ หากมีสภาพไม่ดีก็เปลี่ยนใหม่ หรือน้ำตันหรือไม่ เคยถ่ายน้ำเติมน้ำยากันบ้างหรือเปล่า 
     ถ้าไม่ก็เริ่มทำได้เลยค่ะ

	     สำหรับอะไรที่ดูแล้วทำด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ไปให้ช่างเค้าตรวจเช็คจะดีกว่าค่ะ เพื่อความสบายใจของตัวเราเองด้วย เมื่อติดตั้งแก๊สแล้วจะได้ใช้งานกันได้
อย่างสะดวกสบาย  ไม่ต้องมีเรื่องปวดหัวตามมาค่ะ

ระบบแก๊สในรถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

Back to Top

ข้อดีข้อเสียในการติดตั้งแก๊สในรถยนต์

ข้อดี ข้อเสีย
1. ประหยัดกว่าน้ำมันทุกประเภทกว่า 1 ใน 3 คุ้มทุนภายในไม่กี่เดือนตามการใช้งาน 1. การติดตั้งต้องติดตั้งไว้ในกระโปรงหลังรถ ทำให้เสียพื้นที่ใช้สอยไปบางส่วนในการบรรทุกของ แต่ในปัจจุบันมีถังแก๊สแบบโดนัท ซึ่งสามารถติดตั้งในหลุมยางอะไหล่รถยนต์ได้ ซึ่งจะประหยัดพื้นที่สำหรับผู้ที่มีสัมภาระมาก
2. ใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถหาปั้มแก๊สได้ง่าย ซึ่งกระจายทุกจังหวัดทั่วประเทศ 2. อาจจะมีกลิ่นแก๊สรบกวนถ้าใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานและเสื่อมคุณภาพ รวมถึงยังขาดความชำนาญในการติดตั้ง
3. ประสิทธิภาพเครื่องยนต์ไม่ตกบางรายที่รักษาสภาพเครื่องยนต์ดีสามารถขับขี่ได้ดีกว่าน้ำมันกว่า 5% 3. กำลังเครื่องยนต์อาจลดลงเนื่องด้วยน้ำหนักถังก๊าซที่ติดตั้งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหากเลือกติดตั้งระบบ NGV
4. ช่วยลดภาวะโลกร้อนปัญหาสภาวะเรือนกระจกที่เกิดจากสารคาร์บอนมอนออกไซด์ 4. อาจมีอัตราการสึกหรอของเครื่องยนต์หากมีการใช้งานในระยะ 200,000 km แบบรถแท๊กซี่ ที่ต้องเดินเครื่องยนต์ตลอดเวลา ทั้งวันและทุกวัน
Back to Top

ข้อกังวลใจในการติดแก๊สในรถยนต์

1. ความปลอดภัย
          กลุ่มผู้ใช้รถที่ปฏิเสธการใช้แก๊สด้วยเหตุกังวลเรื่องความปลอดภัย เกรงอันตรายจากการระเบิด ซึ่งทัศนคติหรือความเชื่อดังกล่าว อาจจะเกิดขึ้นจาก
ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือสื่อต่างๆ จะมีใครรู้บ้างหรือไม่ว่า ความแข็งแรงของถังแก๊สนั้นมีมากกว่าถังน้ำมันหลายเท่านัก ถ้าเกิดรถชนบริเวณ
ท้ายรถที่มีทั้งถังแก๊ส และถังน้ำมันเราจะพบว่า จะมีแต่ตัวถังน้ำมันที่ฉีกขาดและน้ำมันรั่วออกมา แต่ตัวถังแก๊สจะไม่เป็นอะไรเลย และไม่มีแก๊สรั่วด้วย เพราะว่า
วาล์วที่หัวถังแก๊สจะตัดทันทีถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าจากตัวรถส่งมา  ดังนั้น จึงอยากให้กลุ่มผู้ใช้รถทั้งหลาย คลายความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัย 
จากการติดตั้งแก๊ส เพราะปัจจุบันนี้ เราต่างประสบกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจึงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากขึ้น การติดตั้งแก๊สรถยนต์เป็นอีกทาง
เลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของท่านได้ 
Back to Top
2. ประกันรถยนต์
          ประกันในส่วนของเครื่องยนต์เท่านั้น ที่จะสิ้นสุดจากการติดตั้งแก๊ส แต่สิ่งสำคัญ คือ เจ้าของรถที่ติดตั้งแก๊สต้องมั่นใจว่า ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ 
จากร้านที่ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยจากการใช้รถ นอกจากนี้ขอให้เจ้าของรถ แจ้งข้อมูลให้กับบริษัทประกันภัย ที่รับประกันภัยรถของท่าน
ทราบด้วย  เพื่อสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการประกันภัยอย่างครบถ้วน
Back to Top
3. อายุการใช้งาน
          สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สจะมีการสึกหรอเกิดขึ้น นั้นเนื่องมาจากความร้อนนั้นเอง การใช้งานสำหรับอุปกรณ์ที่มีความเสื่อมไปตามกาลเวลา
และอายุการใช้งาน ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์แก๊ส ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ใช้งาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของ
การเผาไหม้ สมรรถนะเครื่องยนต์ยังต้องควรหมั่นตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้ถูกวิธี เท่านี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้
Back to Top
4. มาตรฐานในการติดตั้ง
          ปัจจุบันมีศูนย์รับติดตั้งแก๊สในรถยนต์ที่มีมาตรฐาน โดยได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบก เปิดให้บริการรับติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบแก๊สรถยนต์
ภายหลังการติดตั้ง รวมถึงให้บริการ ให้คำปรึกษาด้านการติดแก๊สได้มาตรฐานสูงสุด จึงสามารถวางใจและอุ่นใจในการรับบริการติดตั้งแก๊ส
Back to Top

ทำไมต้อง ECU ของ AC?

          1. AC คือ ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สในรถยนต์ระดับโลก โดยมีลูกค้าที่ใช้ AC ในเมืองไทย มากกว่า 100,000 ราย และ มากกว่า 1,000,000 ราย
ทั่วโลก ใน 40 ประเทศ ด้วยคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
          2. AC คือ ผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้รถยนต์ระบบแก๊ส LPG มากที่สุดในโลก และเป็นบริษัทเดียวในธุรกิจ
แก๊สรถยนต์ที่สามารถนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ของยุโรปได้
          3. AC มีโปรแกรมปรับแต่งระบบแก๊ส (Tuning Program) ที่ใช้งานง่าย และเป็นยี่ห้อเดียวที่มีการแสดงผลให้เห็นทันทีเมื่อปรับแต่งแล้ว พร้อม
โปรแกรมภาษาไทย 
          4. AC คือ ผู้ผลิตรายแรกในโลกที่สามารถพัฒนาระบบการควบคุมแก๊ส ให้ใช้กับระบบ OBD สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 
และมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง เพราะ AC มีทีมนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 50 ชีวิต เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของอนาคต
          5. AC คือ ผู้ผลิตกล่อง ECU สายไฟ สวิทช์ และเซนเซอร์ ในประเทศโปแลนด์ 100% และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ECR R67 มาตรฐานการผลิต 
ISO 9001 : 2008 และมาตรฐานไอเสีย EURO 5
          6. AC ได้ให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนการผลิต และต้องมีความทนทานต่อการใช้งานจริง โดยได้ทดสอบการใช้งาน จากการนำเข้ามาจำหน่ายใน
ประเทศไทย นานกว่า 5 ปี  ซึ่งเทียบเท่ากับระยะทางกว่า 600,000 กิโลเมตร ดังนั้นอัตราการเคลมสินค้าชำรุดจึงต่ำมาก มีเพียง 0.01% เท่านั้น
          7. AC มี ECU ให้เลือกถึง 4 รุ่น เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานรถยนต์ของคุณ
Back to Top

ขั้นตอนในการให้บริการของ THEOAUTO เป็นอย่างไร?

Back to Top

หลังจากติดตั้งแก๊สแล้วต้องบำรุงรักษาอย่างไร

          1.  เมื่อใช้งานแล้วประมาณ 1,000 กิโลเมตรแรก ควรนำรถเข้าอู่ที่ติดตั้ง เพื่อทำการปรับตั้งค่าโปรแกรม (Tune Up) ให้เหมาะกับนิสัยการขับขี่
ของเจ้าของรถอีกครั้ง
          2.  ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงทุกปี
          3.  เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
          4.  เปลี่ยนกรองอากาศทุก ๆ 20,000-30,000 กิโลเมตร
          5.  ทำความสะอาดกรองอากาศทุก ๆ เดือน
          6.  เปลี่ยนกรองก๊าซทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
          7.  เปลี่ยนหัวเทียนทุก ๆ 30,000 กิโลเมตร
          8.  ตรวจสอบการรั่วซึมของข้อต่อ และอุปกรณ์ทุก ๆ 3 เดือน ด้วยน้ำฟองสบู่
          9.  ตรวจและทดสอบถังบรรจุแก๊ส LPG ทุก ๆ 5 ปี
          10.  รถที่ติดตั้งก๊าซ NGV ต้องนำรถไปให้วิศวกรผู้ตรวจและทดสอบทำการตรวจ และทดสอบทุกปี
Back to Top

การรับประกันของ ชุดอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สAC เป็นอย่างไรบ้าง

อุปกรณ์ ระยะเวลารับประกัน
ECU 2 ปี
Map Sensor 2 ปี
Switch 2 ปี
ชุดสายไฟ 2 ปี
Temp Sensor 2 ปี
ชุดเกจถัง 2 ปี
รางหัวฉีด 2 ปี
หม้อต้ม 2 ปี
กรองก๊าซ อายุการใช้งานประมาณ 20,000 กม.(ลูกค้าเปลี่ยนเอง)
Back to Top

กล่อง ECU สำคัญอย่างไร

          กล่อง ECU (Electronic Control Unit) ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดของระบบแก๊ส และถ้าเปรียบกับร่างกายมนุษย์ ก็เปรียบได้กับสมอง ซึ่งเป็นศูนย์กลาง
ควบคุมและสั่งการของร่างกาย โดยกล่อง ECU แก๊สจะเชื่อมต่อสัญญานจากกล่อง ECU หลักของรถยนต์ มาปรับค่าให้เหมาะสมแล้วสั่งการไปที่หัวฉีดแก๊ส เพื่อ
จ่ายแก๊สเข้าระบบเครื่องยนต์ โดยกล่อง ECU แก๊สที่ดีต้องมีคุณสมบัติหลัก ๆ ดังนี้
          1. สามารถสตาร์ทแก๊สได้ในขณะที่น้ำมันหมดหรือระบบน้ำมันมีปัญหา
          2. เมื่อแก๊สหมด กล่อง ECU แก๊สต้องเปลี่ยนเข้าสู่ระบบน้ำมันได้โดยสมบูรณ์แบบ
          3. สามารถตอบสนองการชดเชยส่วนผสมเมื่อเมื่อแรงดันและอุณหภูมิของเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลงได้ทันที
          4. มีระบบความปลอดภัยสูงสุด ในการตัดจากระบบแก๊ส เป็นระบบน้ำมันเพียง 0.005 วินาทีพร้อมส่งสัญญานเสียงเตือน
หากขาดคุญสมบัติหลัก 4 ข้อข้างต้นนี้ ก็ถือว่า ECU ไม่สามารถทำงานอย่างสมบูรณ์และปลอดภัยได้

Back to Top